หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
ประวัติความเป็นมา
วิสัยทัศน์
พันธกิจ
คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (กขร.)
- รายชื่อ กขร. ปัจจุบัน
- ประธาน กขร. (อดีต-ปัจจุบัน)
คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร (กวฉ.)
- รายชื่อ กวฉ.
- ประธาน กวฉ. สาขาต่าง ๆ
โครงสร้างหน่วยงาน
- การแบ่งส่วนราชการ
- ผู้บริหาร
- บุคลากร
อำนาจหน้าที่
- คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
- คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
- สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
สำหรับประชาชน
สิทธิของประชาชนตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ
- สิทธิรับรู้และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ
- สิทธิร้องเรียน
- สิทธิอุทธรณ์
- สิทธิคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ขั้นตอนการใช้สิทธิตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ
ข้อแนะนำในการตรวจดูข้อมูล
ข้อแนะนำในการใช้สิทธิร้องเรียน
- ขั้นตอนการร้องเรียน
- ระยะเวลาและกระบวนการในการดำเนินการ
- ระบบร้องเรียนออนไลน์
ข้อแนะนำในการใช้สิทธิอุทธรณ์
- ขั้นตอนการอุทธรณ์
- ระยะเวลาและกระบวนการในการดำเนินการ
การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
- สิทธิเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
- การจัดเก็บข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
- การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
- การตรวจดูข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
- การแก้ไขข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
สำหรับหน่วยงานรัฐ
หน้าที่ของหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ
- มาตรา 7 นำข้อมูลข่าวสารลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
- มาตรา 9 จัดแสดงข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนตรวจดู
- มาตรา 11 จัดหาข้อมูลข่าวสารตามคำขอ
- มาตรา 12 ให้คำแนะนำแก่ประชาชนและส่งข้อมูลที่มีชั้นความลับ
- มาตรา 16 การปฏิบัติตามระเบียบรักษาความลับ
- มาตรา 17 แจ้งให้ผู้มีประโยชน์ได้เสียทราบและคัดค้านการเปิดเผย
- มาตรา 26 การจัดส่งเอกสารประวัติศาสตร์
- มาตรา 32 ให้ถ้อยคำ/ส่งเอกสารหรือพยานหลักฐาน
- มาตรา 33 ให้ความสะดวกในการตรวจสอบข้อมูล
วิธีการในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสาร
- ข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ห้ามมิให้เปิดเผย หรืออาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผย
- ขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติในการมีคำสั่งให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ
- แนวทางการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
- การคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารโดยสุจริต
การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
- หน้าที่และหลักปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ ในการคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
- การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลโดยปราศจาก ความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล
เกี่ยวกับศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
- แนวทางในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
- ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการของ สปน.
- หลักการและเหตุผล
- เกณฑ์การตรวจประเมิน
- ตัวอย่างต้นแบบ (Template) ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์
มุมกฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ
- สรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
- หลักการและเหตุผล
- เจตนารมณ์ของกฎหมาย
คำวินิจฉัยของ กวฉ.
การตอบข้อหารือในการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- กฎกระทรวง
- ประกาศคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
- ระเบียบของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
- คำสั่งคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
- มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
- ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
- รายชื่อกฎหมายทั้งหมด
ติดต่อหน่วยงาน
เลือกรายการข้อมูลที่ต้องการ
บุคลากร
ระบบกระดานข้อคิดเห็น
ระบบร้องเรียน - ระบบอุธรณ์
เชื่อมโยงลิงค์ต่างๆ ที่น่าสนใจ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
ขณะนี้ออนไลน์ : 1
เยี่ยมชมวันนี้ : 45
เยี่ยมชมเดือนนี้ : 891
เยี่ยมชมปีนี้ : 5,744
เยี่ยมชมทั้งหมด : 176,390
IP : 172.69.17.117
เริ่มนับวันที่ 1 มิถุนายน 2557
»
ข่าวสารและกิจกรรม
อำนาจหน้าที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์
หมวด : ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 7 วันที่ : 10-06-2557 (เข้าชม : 1440)
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
๑. อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๔๖
๑.๑ มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการภายในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด ดังต่อไปนี้
๑) ตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดแย้งต่อกฎหมาย
๒) จัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และเป็นประธานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
๓) สนับสนุนสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
๔) ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
๕) แบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่สภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
๖) อำนาจหน้าที่ของจังหวัดตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๔๙๘ เฉพาะภายในเขตสภาตำบล
๗) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (๗ ทวิ) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
๘) จัดทำกิจการใดๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด และกิจการนั้นเป็นการสมควรให้ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นร่วมกันดำเนินการหรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
๙) จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
บรรดาอำนาจหน้าที่ใดซึ่งเป็นของราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคอาจมอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดปฏิบัติได้ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
๑.๒ การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงานและการเปิดเผยข้อมูล ข่าวสารทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
๑.๓ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจจัดทำกิจการใดๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่น หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดอื่นที่อยู่นอกเขตจังหวัดได้ เมื่อได้รับความยินยอมจากราชการส่วนท้องถิ่นอื่น หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
๑.๔ กิจการใดเป็นกิจการที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดพึงจัดทำตามอำนาจหน้าที่ถ้าองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่จัดทำ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจมีคำสั่งให้ราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคจัดทำกิจการนั้นได้ในกรณีที่ราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคจัดทำกิจกรมดังกล่าวนี้ ให้คิดค่าใช้จ่าย และค่าภาระต่างๆ ตามความเป็นจริงได้ตามอัตราและระยะเวลาที่เหมาะสม
๑.๕ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจให้บริการเอกชน ส่วนราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นโดยเรียกค่าบริการได้ โดยตราเป็นข้อบัญญัติ
๑.๖ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจมอบให้เอกชนกระทำกิจการซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการหรือค่าตอบแทนที่เกี่ยวข้องแทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัดเสียก่อน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการทำ กิจการนี้เป็นสิทธิเฉพาะตัวจะโอนไปไม่ได้
๑.๗ การดำเนินกิจการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีลักษณะเป็นการพาณิชย์อาจทำให้ได้โดยตราเป็นข้อบัญญัติ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
นอกจากนั้น องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีหน้าที่ในการดำเนินกิจการภายในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด ดังนี้
๑.๑.๑ จัดทำแผนและประสานแผนการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด การส่งเสริมอาชีพ ความเป็นอยู่ของประชาชน การกินดีอยู่ดี
๑.๑.๒ สนับสนุนโครงการของส่วนราชการอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น รวมถึงการประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
๑.๑.๓ คุ้มครองดูแล บำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม รวมถึงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น เป็นต้น และได้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒
๒. อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ และประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่อง กำหนดอำนาจหน้าที่ในการจัดระเบียบบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้
๑. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
๒. การสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
๓. การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่นอื่น
๔. การแบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
๕. การคุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๖. การจัดการศึกษา
๗. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
๘. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
๙. การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม
๑๐. การจัดตั้งและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียรวม
๑๑. การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลรวม
๑๒. การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ
๑๓. การจัดการและดูแลสถานที่ขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ
๑๔. การส่งเสริมการท่องเที่ยว
๑๕. การพาณิชย์การส่งเสริมการลงทุนและการทำกิจการไม่ว่าจะดำเนินการเองหรือร่วมกับบุคคลอื่นหรือจากสหการ
๑๖. การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
๑๗. การจัดตั้งและดูแลตลาดกลาง
๑๘. การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
๑๙. การจัดให้มีโรงพยาบาลจังหวัด การรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
๒๐. การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ
๒๑.การขนส่งมวลชนและการวิศวกรรมจราจร
๒๒. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
๒๓. การจัดให้มีระบบรักษาความสงบเรียบร้อยในจังหวัด
๒๔. จัดทำกิจการใดอันเป็นอำนาจและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขตและกิจการนั้นเป็นการสมควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นร่วมกันดำเนินการหรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
๒๕. สนับสนุนหรือช่วยเหลือส่วนราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่นอื่น
๒๖. การให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
๒๗. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
๒๘. จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
๒๙. กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้างต้น เป็นการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๔๕ โดยลักษณะของการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในการให้บริการสาธารณะในเขตจังหวัด มีดังนี้
๑.ดำเนินงานในโครงการที่มีขนาดใหญ่ที่เกินศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด
๒.เป็นการดำเนินการที่ปรากฏถึงกิจกรรมที่เป็นภาพรวมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด ที่มุ่งต่อประโยชน์ของท้องถิ่นหรือประชาชนเป็นส่วนรวม และไม่เข้าไปดำเนินงานที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัดสามารถดำเนินการได้เอง
๓.เข้าไปดำเนินงานตามแผนงานหรือโครงการในลักษณะที่มีความเกี่ยวต่อเนื่อง หรือมีผู้ได้รับประโยชน์ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากกว่า ๑ แห่งขึ้นไป
สงวนลิขสิทธิ์ © 2014 ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์
ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์
เลขที่ 3/47 ถนนบายพาส-ทุ่งมน ต.กาฬสินธุ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 46000 โทรศัพท์ 043-816-061